วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
  สำนวน
   

สำนวน  คือ     ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ  ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ตามปกติทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย   หรือ   ความหมายในเชิงเปรียบเทียบเป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาวๆ  กะทัดรัดบางส่วนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย
    สุภาษิต     คือ     คำพูดที่ถือเป็นคติ   มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดง

การแบ่งประเภท
การแบ่งตามมูลเหตุ
หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว

มีเสียงสัมผัส
คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย มั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขาย
6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท คดในข้องอในกระดูก แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ขิงก็ราข่าก็แรง
8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา

ไม่มีเสียงสัมผัส
2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด1.หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ
4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ตัวอย่างเช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สํานวน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สุภาษิต

    สุภาษิต     คือ     คำพูดที่ถือเป็นคติ   มีความลึกซึ้งใช้สั่งสอนถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล    เช่น  สุภาษิตสอนหญิง   สุภาษิตพระร่วง   ก็มีข้อความสั่งสอนที่ค่านิยมของสมัยนั้นๆไว้อย่างชัดเจนตลอดจนพุทธสุภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา

คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี คำสุภาษิตมักจะแต่งให้คล้องจองฟังแล้วระรื่นชื่นหู เพื่อให้จดจำได้ง่ายและเกิดการใช้งานได้บ่อย หลายครั้งที่เราได้พบกับคำสุภาษิตจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ เราอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจในความหมายของมันก็ได้ ได้รวบรวมความหมายของคำสุภาษิต คำพังเพย

ตัวอย่างเช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สุภาษิต

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

คำพังเพย
 คำพังเพย   คือ     เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่างๆ ที่ใช้ติชม  ซึ่งสะท้อน ถึงความคิด ความเชื่อถือและค่านิยม  อันเป็นลักษณะของคนไทย  เช่น  ค่านิยมในการยกย่องผู้อาวุโส  เคารพครูบาอาจารย์และนิยมความสุภาพอ่อนโยน

ตัวอย่างเช่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำพังเพย


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สุภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้ได้คิด แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
  1. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้วสามารถเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
  2. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้ว ไม่สามารถเข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย

สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ 

สํานวนไทย จะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต 

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ เป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน

ความแตกต่างของ สุภาษิต สำนวน และคำพังเพย 
สุภาษิต จะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น  


สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ก.ไก่
กระดี่ได้น้ำ (As gay as a lark.)
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เกินงาม


กิ้งก่าได้ทอง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

ความหมาย คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน


ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี

กลิ้งครกขึ้นภูเขา
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
  • กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา  ความหมาย คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้วคิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน
  • กินปูนร้อนท้อง  ความหมาย คนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้
  • ไก่แก่แม่ปลาช่อน    ความหมาย   หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน
  • กิ่งทองใบหยก    ความหมาย    หญิงและชายที่มีฐานะเสมอกัน ทั้งหน้าตาและรูปร่างสวยงามพอกัน มีอะไรที่เหมาะสมกัน จึงเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกันมาก
  • กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง ความหมาย  รู้ดีอยู่แก่ใจ เพราะทำเองแล้วแสร้งไม่รู้ไม่เห็น
  • กำขี้ ดีกว่า กำตด  ความหมาย  ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน 
  • ใกล้เกลือกินด่าง    ความหมาย    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน อยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่า
  • ก่อกรรมทำเข็ญ    ความหมาย    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
  • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน  ความหมาย  ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย
  • กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  ความหมาย  ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง การทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน การคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่ง
  • กินที่ลับ ขับที่แจ้ง ความหมาย  ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนเก่งกล้า หรือสามารถทำอย่างนั้นได้
  • กินน้ำใต้ศอก  ความหมาย  หญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย หรือ ได้อะไรที่ไม่เทียมหน้าเทียมตาคนอื่นเขา
  • เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง ความหมาย การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
  • ไก่กินข้าวเปลือก ความหมาย ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้ นั่นเอง
  • แกว่งเท้าหาเสี้ยน  ความหมาย คนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ
  • กินข้าวร้อนนอนสบาย ความหมาย เกียจคร้าน ชอบทำอะไรจวนตัว


สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ข.ไข่
  • ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน
  • เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ที่ใหนเขาประพฤติอย่างไร ก็ประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา
  • ขว้างงูไม่พ้นคอ
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้
  • ข้าวใหม่ปลามัน 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ
  • เขียนเสือให้วัวกลัว ความหมาย การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว 
  • ขมินกับปูน ความหมาย คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูน
  • ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ความหมาย การทำอะไร ที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทราม หรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจ ให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะ หมายถึง ผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อย เห็นอย่างชัดแจ้ง
  • ขนมพอผสมกับน้ำยา ความหมาย ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้
  • ขี่ช้างอย่าวางขอ ความหมาย การที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางขอหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้
  • เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ความหมาย คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ
  • ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง ความหมาย สิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ค.ควาย
  • คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้
  • คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย
  • คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า
  • คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ความหมาย เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วย ขจัดเหตุร้าย หรือเป็นเพื่อนอุ่นใจ ได้ดีกว่า ไปคนเดียว
  • ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ความหมาย มีเรื่องราว เดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไข หรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกครั้ง
  • คนตายขายคนเป็น ความหมาย คนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำ ต้องเป็นภาระในการจัดทำศพอีกด้วย
  • โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย คิดกำจัดศัตรู ก็ต้องปราบให้เรียบ อย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลย แม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมา เป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก คือต้อง ขุดราก ถอนโคน
  • ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ความหมาย เป็นคนมีความรู้สารพัด เกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข 
  • คางคกขึ้นวอ

    ความหมาย เปรียบเทียบคนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว วอในที่นี้ มีความหมายถึง วอที่นั่ง มีบริวารคอยหามเวลาเดินทางไปใหนมาใหน
  • คลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วดูจะเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องสำคัญแต่แล้วเรื่องนั้นก็เงียบหายไปเฉยๆ เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเลนั่นเอง
  • คบคนจรหมอนหมิ่น ความหมาย คบคนแปลกหน้า ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเกิดโทษหรืออันตรายได้ เหมือนหนุนหมอนหมิ่น ๆ ไม่ยอมหนุนตรงกลางหมอนอาจตกหมอนคอเคล็ดได้เช่นกัน
  • คมในฝัก ความหมาย เป็นคนเก่ง แต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
  • คาบลูกคาบดอก ความหมาย อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน เปรียบเทียบกับ ต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกันนั่นเอง
  • คู่เรียงเคียงหมอน ความหมาย ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันนั่นเอง
  • คดในข้องอในกระดูก ความหมาย คนที่เชื่อและไว้วางใจไม่ได้ ซึ่งมีสันดานคดโกงและฉ้อฉล

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ง.งู
  • งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู
    ความหมาย คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย
  • งูกินหาง
    ความหมาย เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตัวอย่าง ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว
  • งอมพระราม ความหมาย มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
  • งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ความหมาย สัตว์ร้ายนานาชนิดสำนวนนี้บ่งบอกถึงอันตรายตรงๆของสัตว์มีพิษพวกนี้เพราะชีวิตของคนสมัยก่อนต้องทำไร่ทำสวน ต้องเดินผ่านสุมทุมพุ่มไม้ หรือเดินตามคันนาหัวไร่ หรือไปไหนมาไหนตอนกลางค่ำกลางคืนก็ให้ระวัง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ มันจะกัดจะต่อยเอา
  • เงาตามตัว หมายถึง ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที หรือผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
  • เหงื่อไหลไคลย้อย หมายถึง เหงื่อ และขี้ไคล เช่น อากาศร้อนมากจนเหงื่อไหลไคลย้อยกันหมดแล้ว หรือออกแรงทำงานหนัก ๆ
  • งมเข็มในมหาสมุทร
    หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก
  • เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น
  • โง่เง่าเต่าตุ่น หมายถึง โง่มาก คือ เต่าเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ตุ่นเป็นสัตว์ที่รูปร่างคล้ายหนู ชอบขุดรูอยู่ ชอบกินพืช เต่าและตุ่นมักถูกนำมาเปรียบกับคนโง่และคนเซ่อ เง่าหรือง่าว เป็นคำไทยเหนือแปลว่า โง่

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด จ.จาน
  • จับปลาสองมือ 

    ความหมาย คนที่อยากจะได้สองอย่างทีเดียวพร้อมๆ กัน  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบเทียบกับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด ไม่ได้อะไรเลย
  • จับเสือมือเปล่า
    ความหมาย ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือการลองใช้ความสามารถส่วนตัวทำดู
  • จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง
    ความหมาย การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบเทียบกับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดเสียหายได้
  • โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้ง ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมดเกลี้ยง
  • จับปูใส่กระด้ง
    ความหมาย ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป
  • ใจปลาซิว ความหมาย มีใจไม่อดทน ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
  • จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ความหมาย เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน.
  • จิ้งจกตีนศาล ความหมาย หากินเล็กๆน้อยๆ กับผู้มาติดต่อราชการ หรือพวกกระจอกงอกง่อย
  • เจ้ายศเจ้าอย่าง ความหมาย ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
  • จับแพะชนแกะ ความหมาย เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน นั่นเอง
  • จูบคำถลำแดง ความหมาย มุ่งหมายที่จะเอาอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง
  • เจ้าชู้ประตูดิน ความหมาย เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า คือสมัยก่อนหนุ่มๆที่อยากดูสาวชาววังก็ต้องรอตอนสาวชาววังออกมาจับจ่ายซื้อหาข้าวของนอกประตูดินถึงจะได้เห็น และได้เกี้ยว 
  • เจ้าชู้ไก่แจ้ ความหมาย บุคคลบางคน มีนิสัยชอบผู้หญิง แต่ไม่กล้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสีกลัวเขาจะไม่พูดด้วย กลัวจะเสียหน้า จึงได้แต่แต่งตัวดี ๆ แต่งตัวหล่อ ๆ หวีผมทาแป้งแล้วไปเดินผ่าน เดินกรีดกรายทำท่าทางกระดิกกระดี้ให้หมู่สตรีเขาแลมองเท่านั้นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฉ.ฉิ่ง
  • ฉลาดแกมโกง ความหมาย การใช้ความรู้ความสามารถเอาเปรียบผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ศรีธนญชัย
  • ฉิบหายวายป่วง ความหมาย การทำอะไรที่ ทำให้สูญเสียหมด ล่มจม วอดวาย 
  • ฉ้อราษฎร์บังหลวง ความหมาย ข้าราชการที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังเอาเงินทอง และทรัพย์สิน โดยอำนาจหน้าที่ราชการที่มีอยู่
  • ฉับพลันทันด่วน ความหมาย เป็นอะไร หรือ เกิดอะไรขึ้น รวดเร็ว ไม่ทันตั้งตัว
  • ฉกชิงวิ่งราว ความหมาย มิจฉาชีพที่ทำอาชีพทุจริต โดยการ ฉก ชิง วิ่งราว แย่งเอาจากเจ้าของโดยไม่ได้ยินยอม
  • ฉิบหายขายตน ความหมาย เหมือนกับ ฉิบหายวายป่วง คือ เกิดความสูญเสีย ล่มจม วอดวาย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ช.ช้าง
  • ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม 

    ความหมาย การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก คือ ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ อย่าเร่งรีบจนเกินไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำงานแบบเอื่อยเฉื่อยไม่มีความกระตือรือร้น
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า ความหมาย การเจรจา หว่านล้อมหรือขอร้องอะไรก็ตามที่จะไม่พูดตรงๆ แต่จะพูดอ้อมๆหว่าน ล้อมก่อนจะเข้าจุดประสงค์
  • ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน นำศัตรูเข้าบ้าน คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
  • ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก ความหมาย คนที่อวดดี หรือชอบกระทำนอกลู่นอกทาง เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ จะได้รู้สึกได้ด้วยตัวเอง
  • ชักหน้าไม่ถึงหลัง ความหมาย เงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ความหมาย ตามหลักที่ว่าผู้ชาย จะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้า หรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่ง ถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความ เก่งกาจ จึงได้ชื่อว่า ชาติเสือต้องไว้ลายชาติชายต้องไว้ชื่อ
  • ชักใบให้เรือเสีย ความหมาย เป็นการพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอกเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน จึงถือเป็นเรื่องไม่ถูกกาลเทศะ
  • ชิงสุกก่อนห่าม ความหมาย การทำอะไรก็ตาม ที่ข้ามขั้นตอน หรือยังไม่ถึงเวลาก็ชิงทำไปก่อน เช่น เด็กที่อายุไม่ถึงเวลามีแฟน ก็รีบมีก่อนที่จะเป็นสาวเต็มตัว
  • ชักธงขาว 

    ความหมาย สัญลักษณ์ของการยอมแพ้ 
  • ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ความหมาย ว่ายังไงว่าตามกัน หรือ ไม่ว่าผู้มีอํานาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ
  • ชี้โพรงให้กระรอก 

    ความหมาย ผู้ที่ชอบทำอะไรอยู่เป็นนิสัยแล้ว เช่น ชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยว ก็จะไป หรือผู้ที่เป็นขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าขโมย เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้กระรอก
  • ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว ความหมาย สำนวนนี้ คือผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอา อาการกระทำเป็นเครื่องวัด ในความโลเล ไม่มั่นคง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ซ.โซ่


สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ด.เด็ก 
  • ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม ความหมาย สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดา ไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่า ตามความหมายดังกล่าวนี้  เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า  หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์ นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น หรือ แปลกตา แต่ถ้าได้แต่งงานกับสามีหรือหย่าร้างกันไปก็เหมือน ดอกกระดังงาไทย ที่นำมาลนไฟด้วยเทียนผึ้งแล้วก็จะมีกลิ่นหอมโชย
  • ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ความหมาย  ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ” ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ” ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า ” ดูช้างให้ดูหาง ” นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง  ที่บอกลักษณะ ว่า เป็นช้างดี หรือ ช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ ตามเรื่องที่เล่าว่า  เวลาช้างพังตกลูก เป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ” ย้อม ” กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้ หรือ ขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่า เป็น ช้างเผือกแต่จะมีส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่นั่นก็คือหางของมันนั่นเอง
  • เดินตามหลังราชสีห์ ดีกว่าเดินตามก้นสุนัข  ความหมาย  เป็นสำนวนที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน  หรือ ไม่มีนานมานี้นัก เรืองอำนาจในสมัยนั้น โดยถือคติยอมเป็นสมัคพรรคพวกของผู้มีอำนาจราชศักดิ์  ดีกว่ายอมร่วมวง กับผู้ ที่ปราศจากอำนาจ หรือทรัพย์สินเงินทอง
  • ได้แกง เทน้ำพริก ความหมาย เปรียบเทียบว่า  ได้ใหม่แล้วลืมคนเก่านั่นเอง มักจะใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรย  ผู้ชายเราที่ได้ภรรยาใหม่ก็ทิ้งเก่าไปเลย คำว่า ” น้ำพริก ”  หรือ  น้ำพริกถ้วยเก่า  เราจะหมายถึงภรรยาเก่าโดยเฉพาะ ก็เหมือนอาหารที่เราทำแล้วไม่มีรสชาติหรือขาดอะไรไปบางอย่างนั่นเอง
สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ต.เต่า
  • ต้นไม้ตายเพราะลูก ความหมาย พ่อแม่ที่ต้องเสียเพราะลูก เช่น  การรักลูกมากจนยอมเสียสละชีวิต หรือทรัพย์สินเพื่อลูก ตามที่ว่า ” ต้นไม้ตายเพราะลูก ” โดยที่ว่าต้นไม้บางชนิด เมื่อมีลูก หรือ มีดอกผลมักจะตาย หรือ โคนเพราะคนมาเก็บ หรือเมื่อออกดอกออกผลแล้ว  ก็มักจะแห้งเหี่ยวตายไปตามๆกันเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำ
  • ตกกระไดพลอยโจน ความหมาย เป็นสำนวนที่ หมายความว่า  ติงานที่เขากำลังเริ่มต้นทำใหม่ ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า  มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า  ฝีมือเขาจะเป็นยังไง ” โกลน ” สำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถาก ตั้งเป็นรูปขึ้นก่อน เพื่อที่จะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรก จึงดูไม่ค่อยเป็น รูปร่างดีนัก
  • ตีวัวกระทบคราด ความหมาย เป็นการแสร้งทำหรือแสร้งพูด เพื่อที่จะให้กระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง การเอา วัวกับคาดมาเปรียบ ก็เพราะ คราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลาน ฟาง หรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาว ใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราด เป็นตังกวาด เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นทำนองว่า ” ตีวัวกระทบคราด ” วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาป เพราะคราด ความหมายคล้ายกับว่า  เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้ แต่ไปลงกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นสัตว์เลี้ยง หรือคนที่ไม่รับรู้อะไรเลย
  • ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ความหมาย  เป็นการสอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจนหรือ เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขา ก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดี ความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายด้วย  อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของความชั่วเป็นต้น
  • ตาบอดได้แว่น ความหมาย เช่น  คนหัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน ” มี ความหมายเดียวกัน หมายถึง การที่เราได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้าน ย่อมไม่มีผมจะหวี และ คนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็น เพราะคนตาบอดสัมผัสไม่ได้ถึงแสงสว่าง
  • ตีงูให้หลังหัก ความหมาย  เป็นการ เตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อคิดจะทำอะไรก็ต้อง ตัดสินใจทำเด็ดขาด หรือจริงจังไปเลย อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้น ผลร้ายจะเกิดขึ้นภายหลังได้ เหมือนกับการที่จะตี หรือ กำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือ ให้หลังหักไปเลย ไม่ฉะนั้นมันจะย้อนกลับมาทำร้ายเราทีหลังได้
  • เต่าใหญ่ไข่กลบ  ความหมาย การที่จะทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้ ก็เหมือนกับการเอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบ ก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่  เช่น เต่าตนุเวลาจะวางไข่ ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่ พอไข่เสร็จ ก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย เพื่อซ้อนไข่ตนไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย หรือ ทำลายไข่ของตน
  • ตีตนไปก่อนไข้ ความหมาย จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือ ข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็เป็นได้ แต่ก็ดันชิงแสดงอาการ ทุกข์ร้อน หรือ หวาดกลัว หรือ วิตกกังวลไปเสียก่อน แล้วทำให้หมดกำลังใจ หรือ กำลังความคิดที่คิดป้องกันไว้ก่อน  เรียกกันว่า  ไข้ยังไม่ทันมาถึงก็ดันตีตนไปก่อนไข้ หรือ กระวนกระวายไปเอง
  • ตัวตายดีกว่าชาติตาย ความหมาย เป็นสำนวน  ปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลาย ชั่วอายุคนแล้ว มีความหมาย ไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติบ้านเมืองของตนเอง เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมือง ก็พร้อมที่จะร่วมกันพลีชีวิต ต่อสู้เพื่อ ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองเพื่อไม่ให้ผู้ใดมาทำลายประเทศของตนเอง
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือ ได้สมดุลกัน หรือ ใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่น ลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ ซึ่ง ต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ ก็เหมือนกับการตำน้ำพริกเพียงครกเดียว แล้วนำไปละลายในแม่น้ำบ่อใหญ่ๆนานๆไปก็สูญเปล่า
  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ความหมาย เป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จัก ที่ต่ำ ที่สูง หรือ คนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า  ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเอง ว่า เป็นอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปเทียบเทียมหน้าคนอื่น  ความหมาย ทำนองเดียวกับที่ว่า  ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อนที่จะไปว่าคนอื่นเขา
  • ตีงูให้กากิน  ความหมาย การลงทุน หรือลงแรง ทำอะไรขึ้นอย่างโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เปรียบดั่ง ตีงูซึ่งต้องใช้ความกล้า หรือ กำลังเล่นงานงู แต่ครั้นพองูตายแล้วก็เอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้  ต้องทิ้งให้มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ก็นำไปทิ้งให้กามาจิกกินเนื้อของงูกาเหล่านี้มักจะบินตามกันมาเป็นฝูงใหญ่ๆ
  • เตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคน ที่ยากจนกว่าตนเข้าอีกเท่ากับ ” เตี้ยอุ้มค่อม ” คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก  หรือ จะเปรียบได้อีกทางหนึ่ง ว่า คนที่ทำงาน หรือ ทำอะไรที่เป็นภาระใหญ่ๆอยู่มากมาจนเกินสติกำลังของตนเองแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำไปได้ตลอดชีวิตของตนหรือเปล่า


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สํานวน สุภาษิต คําพังเพย





































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น